“แผลกดทับ” ภัยเงียบที่มักมากับวัย เป็นปัญหาผิวหนังที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่นอนติดเตียง หรือเคลื่อนไหวน้อย แผลกดทับไม่เพียงสร้างความเจ็บปวด แต่ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และอาจลุกลามเป็นแผลเรื้อรัง รักษาหายยาก
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (Health Systems Research Institute, HSRI) ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยติดเตียงกว่า 300,000 ราย ซึ่งแสดงถึงความต้องการการดูแลที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ 【Health Systems Research Institute (HSRI), 2024】การมีผู้ป่วยติดเตียงจำนวนมากนี้ไม่เพียงแต่เป็นภาระต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ แต่ยังส่งผลต่อครอบครัวและชุมชน เนื่องจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียงต้องการทั้งทรัพยากรทางการแพทย์ เวลา และความใส่ใจในการป้องกันปัญหาสุขภาพหลายด้าน หนึ่งในปัญหาหลักที่พบได้บ่อยคือ แผลกดทับ (Pressure Ulcer) ซึ่งเกิดจากการกดทับบริเวณผิวหนังต่อเนื่อง ทำให้ผิวหนังขาดออกซิเจนและสารอาหาร จนเกิดการอักเสบและเป็นแผล
ทำไมผู้สูงอายุจึงเสี่ยงต่อแผลกดทับ?
เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหนังของผู้สูงอายุจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น
- ผิวบางลง: ชั้นไขมันใต้ผิวหนังลดลง ทำให้ผิวหนังรับแรงกดทับได้น้อยลง
- ผิวแห้ง ขาดความยืดหยุ่น: ต่อมไขมันใต้ผิวหนังทำงานลดลง ทำให้ผิวแห้ง แตก และเกิดการเสียดสีได้ง่าย
- การไหลเวียนเลือดลดลง: หลอดเลือดเสื่อมสภาพ ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ และการหายของแผล
ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้ง่ายกว่าวัยหนุ่มสาว โดยเฉพาะผู้ที่
- นอนติดเตียง หรือเคลื่อนไหวน้อย
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือด
- ภาวะทุพโภชนาการ ขาดสารอาหาร
ยารักษาแผลกดทับคนแก่
การรักษาแผลกดทับ ขึ้นอยู่กับระยะของแผล และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย โดยแพทย์ หรือเภสัชกร อาจพิจารณาใช้ยา ดังนี้
- การรักษาแผล ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เพื่อทำแผล (รายละเอียดในหัวข้อต่อไป)
- ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาการติดเชื้อ
- ยาเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ เพื่อกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ และสมานแผล
- ยาอื่นๆ: เช่น ยาแก้ปวด วิตามิน และแร่ธาตุ (เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทาน และช่วยให้แผลหายเร็ว)
วิธีดูแลแผลกดทับคนแก่ให้หายเร็ว
นอกจากการใช้ยา การดูแลแผลกดทับอย่างถูกวิธี ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และช่วยให้แผลหายเร็ว โดยมีหลักการที่อยากแนะนำดังนี้
- ลดแรงกดทับ: พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง ใช้เบาะรองนั่ง หรือที่นอนลม เพื่อกระจายแรงกดทับ
- ทำแผล: ล้างแผล และปิดแผลโดยใช้แผ่นแปะปิดแผลก่อนติดผ้าก๊อซ เพื่อไม่ให้น้ำเหลืองติดกับผ้าก๊อซและทำให้เจ็บมากเวลาลอกออก
- ดูแลความสะอาด: อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า และผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง อยู่เสมอ
- บำรุงผิว: ทาครีมบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ควรเลือกครีมบำรุงที่อ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์: ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน เช่น ไข่ ไก่ ปลา ผักตัมหรือนึ่ง อาจจะปั่นละเอียดกรณีที่ฟันไม่ดีเคี้ยวไม่ได้ปกติ การทานผลไม้นุ่มๆ เช่นส้ม แตงโม ก็จะทำให้ได้รับวิตามิน และแร่ธาตุ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู แข็งแรงขึ้น
- ดูแลสุขภาพกาย และใจ: ให้กำลังใจผู้ป่วย ดูแลด้านโภชนาการ จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายตามสมควร
เคล็ดลับดูแลแผลกดทับแบบมือโปร 💪
-
- เลือกวัสดุปิดแผลให้เหมาะสม: เช่น แผ่น Hydrocolloid สำหรับแผลมีน้ำเหลืองน้อย แผ่น Alginate สำหรับแผลมีน้ำเหลืองมาก แผ่น Foam สำหรับแผลกดทับทุกระยะ
- อย่าแกะ เกา หรือสัมผัสแผล: เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ดูแลสุขภาพกายของผู้ป่วย: เน้นเรื่องโภชนาการให้ทานอาหารให้ครบหมู่ ทานบ่อยๆทีละน้อยก็จะเป็นเรื่องที่ดีมาก แนะนำให้เสริมอาหารเสริมพรีไบโอติกที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก ทำให้ไม่ต้องใช้ยาระบาย และปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยติดเตียง
การดูแลรักษาแผลกดทับแบบละเอียด ในส่วนนี้ทางเภสัชกรอยากให้รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้สามารถปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น
- การทำความสะอาดแผลหลังเปลี่ยนผ้าอ้อม การดูแลแผลกดทับให้สะอาดเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยควรทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
- ดูแลผิวรอบแผล: ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณผิวหนังรอบ ๆ แผลอย่างเบามือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นจากสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่อยู่รอบ ๆ แผล
- ทายาใส่แผลโพวิโดน ไอโอดีน: ใช้สำลีหยดยาโพวิโดน ไอโอดีนที่สำลีพันปลายไม้ แล้วทาเบาๆที่แผล โดยยาช่วยฆ่าเชื้อโรคโดยไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแสบ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากแผลกดทับมักจะมีน้ำเหลืองและเป็นแผลเปียกที่อาจแสบได้ง่าย
- ปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผล: เลือกใช้วัสดุปิดแผลที่มีคุณสมบัติไม่ยึดติดกับแผล เช่น แผ่นปิดแผลซิลิโคน เพื่อป้องกันการติดเชื้อและลดความเจ็บปวดเมื่อต้องทำการเปลี่ยนแผล วัสดุปิดแผลที่ดีจะช่วยให้น้ำเหลืองหรือสารคัดหลั่งไม่ติดกับผ้าก๊อซ ทำให้การทำแผลทำได้ง่ายและเจ็บน้อยลง ญาติหรือผู้ดูแลสามารถหาซื้อแผ่นปิดแผลเหล่านี้ได้ตามร้านยาทั่วไปหรือสั่งซื้อทางออนไลน์
- ใช้ผ้าก๊อซปิดแผลและติดเทป:
- การปกป้องบริเวณอื่นของก้น: อันนี้นับเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเพิ่มด้วยการพ่น Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ บริเวณก้นและสะโพกที่ไม่ได้เป็นแผล ทิ้งไว้ประมาณ 1 นาทีให้แห้งสนิทก่อนใส่ผ้าอ้อม การใช้ Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ จะช่วยป้องกันผิวจากการระคายเคืองที่เกิดจากคราบอุจจาระและปัสสาวะ และลดการเสียดสีที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดแผลกดทับ
ป้องกันแผลกดทับ… ดีกว่ารักษา
การรักษาแผลกดทับต้องใช้เวลาและความอดทนเพราะในผู้สูงอายุมีผิวบอบบางและแผลหายช้า นอกจากนั้นแผลจะทำให้ผู้ป่วยเจ็บมาก ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เป็นแผลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ: ปกป้องผิว ลดเสี่ยงแผลกดทับ
Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ คือสเปรย์สูตรพิเศษที่คิดค้นขึ้นเพื่อปกป้องผิวบอบบางของผู้ป่วย ปลอดภัย แม้ผิวแพ้ง่าย เมื่อพ่นที่ผิวหนังจะทำให้เกิดฟิล์มบางๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันผิวจากความเปียกชื้น การเสียดสี และการระคายเคืองที่เกิดจากคราบปัสสาวะและอุจจาระที่ผ้าอ้อม โดยส่วนผสมหลักของ Acrylates Copolymer เป็นสารสร้างฟิล์มที่ช่วยสร้างเกราะป้องกันบนผิวหนัง ป้องกันการซึมผ่านของความชื้นและช่วยให้ผิวคงความชุ่มชื้น ลดการระคายเคืองที่อาจเกิดขึ้น
- ปลอดภัย: ปราศจากแอลกอฮอล์ น้ำหอม และยาทุกชนิด ไม่เหนียวเหนอะหนะ ให้ความรู้สึกสบายผิว ไม่ระคายเคืองแม้ผิวบอบบาง
- ปกป้องผิว: สร้างฟิล์มบางเบาเคลือบผิว เสมือนเกราะป้องกัน ปกป้องจากความชื้น เหงื่อ การเสียดสี การระคายเคืองจากคราบอุจจาระหรือปัสสาวะที่ผ้าอ้อม จะช่วยลดโอกาสการเกิดแผลกดทับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ใช้งานง่าย แห้งเร็ว: เพียงฉีดพ่น Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ บริเวณผิวที่ต้องการ ก็พร้อมปกป้องผิวได้ทันที แห้งเร็ว ไม่ทิ้งคราบ ไม่เลอะเสื้อผ้า นอกจากนี้ยังเช็ดล้างออกได้ง่ายด้วยน้ำเปล่า
- คุ้มค่า คุ้มราคา: สินค้านำเข้าจากไต้หวัน ราคาประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ
การดูแลเมื่อยังไม่เป็นแผลกดทับ ผู้ดูแลควรปฏิบัติตามวิธีการต่อไปนี้:
- อาบน้ำตามปกติด้วยสบู่เด็กที่อ่อนโยน: เลือกสบู่เด็กที่ไม่มีน้ำหอมและถูเบาๆ เพราะผิวหนังของผู้สูงอายุจะบาง จากนั้นเช็ดตัวให้แห้งสนิทเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับ
- ทาโลชั่นบำรุงผิว: การทาโลชั่นที่ปราศจากน้ำหอมจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิว ลดการระคายเคือง และลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ การดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอจะช่วยลดโอกาสในการเกิดแผลกดทับ
- พ่น Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ บริเวณก้นก่อนใส่ผ้าอ้อม: Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับมีส่วนผสมของโพลีเมอร์ Acrylates Copolymer ที่จะสร้างเป็นฟิล์มเมื่อพ่น ช่วยเคลือบผิวเป็นเกราะป้องกันผิวจากการระคายเคืองจากคราบอุจจาระหรือปัสสาวะที่ผ้าอ้อม และการเสียดสี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทับ โดยโพลีเมอร์นี้จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดการระคายเคือง
Mildvy และ Immunex FOS: คู่หูสำคัญในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง การดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างครอบคลุมไม่ใช่เพียงการป้องกันภายนอกจากการเกิดแผลกดทับด้วยผลิตภัณฑ์ Mildvy เท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภายในด้วย Immunex FOS ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ การใช้ผลิตภัณฑ์ทั้งสองนี้ร่วมกันจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายและผิวพรรณของผู้ป่วย ช่วยให้การดูแลเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- การป้องกันภายนอกด้วย Mildvy: การใช้ Mildvy สเปรย์ปกป้องผิวบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เช่น ก้น สะโพก และข้อศอก จะช่วยลดการเสียดสีและการระคายเคืองที่เกิดจากความเปียกชื้น การใช้ Mildvy เป็นประจำทุกวันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดแผลกดทับและส่งเสริมการสมานตัวของแผลที่มีอยู่แล้ว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและปรับสมดุลภายในด้วย Immunex FOS: การรับประทาน Immunex FOS อย่างสม่ำเสมอจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงและปรับสมดุลลำไส้ ลดปัญหาท้องผูก และช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นได้ดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือการฟื้นตัวของร่างกายที่รวดเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ Immunex FOS มีส่วนผสมของ Fructooligosaccharides (FOS) ในปริมาณสูงถึง 8500 มิลลิกรัม ซึ่งช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในลำไส้ (Probiotics) จุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมของสังกะสี (Zinc) และซีลีเนียม (Selenium) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สังกะสีช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
Case Study: คุณตาใจสู้ กับ Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ
คุณตาวัย 80 ปี ป่วยเป็นอัมพฤกษ์ ซีกขวา ต้องนอนติดเตียง และเริ่มมีแผลกดทับที่ก้นกบ ลูกสาวของคุณตาทักมาทางเพจของ Genkihouses และทางเภสัชแนะนำให้ทำแผล ส่วนอื่นที่ไม่มีแผลก็แนะนำให้พ่อน Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ ฉีดพ่นบริเวณผิวหนังรอบๆ แผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลลุกลาม ควบคู่กับการใช้เจลรักษาแผลกดทับ ที่แพทย์สั่ง
หลังจากที่ทำตามคำแนะนำลูกสาวของคุณตาสังเกตเห็นว่าแผลดีขึ้นมากตื้นขึ้นมีขนาดเล็กลงและกลับมาเป็นสีชมพู ผิวหนังบริเวณรอบๆ แผล มีความชุ่มชื้น แข็งแรงขึ้น และไม่เกิดแผลกดทับเพิ่ม
แผลกดทับ… ป้องกันได้ แต่ถึงแม้เกิดแล้วก็รักษาได้! ขอให้เข้าใจและดูแลแผลพร้อมป้องกันบริเวณอื่นได้
การดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ให้ห่างไกลจากแผลกดทับ ต้องอาศัยความใส่ใจ และความเข้าใจ เริ่มต้นจากการป้องกัน ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ ควบคู่ไปกับการดูแล และรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อสุขภาพผิวที่ดี และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้สูงวัยที่เรารัก
💡 สนใจสั่งซื้อ Mildvy สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ หรือพรีไบโอติก Immunex Fos สอบถามเภสัชกรเพิ่มเติมได้ที่ LINE @genkihouses
📖 ดาวน์โหลดฟรี E-Book สร้างรอยยิ้มและความหวัง: คู่มือดูแลผู้ป่วยติดเตียง
https://drive.google.com/file/d/1jEyZDTQ-aXfg4_YD1A0AumY6UC0-VDLT/view?usp=sharing
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.genkihouses.com
#แผลกดทับ #ผู้ป่วยติดเตียง #สเปรย์ป้องกันแผลกดทับ #Mildvy #ป้องกันแผลกดทับ #วิธีรักษาแผลกดทับ #รักษาแผลกดทับคนแก่ #แผลติดเชื้อ #คนชรา #ผู้สูงอายุ #ที่นอนลม #เบาะรองนั่ง